งานออกแบบ ก่อสร้าง และติดตั้งระบบ

งานออกแบบ ก่อสร้าง และติดตั้งระบบ

    บริษัท อีสเทิร์น ไทย คอนซัลติ้ง 1992 จำกัด ดำเนินการธุรกิจด้วยประสบการณ์งานออกแบบ ก่อสร้าง และติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบผลิตน้ำประปา และระบบสุขาภิบาลในและนอกอาคาร  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้างานอุตสาหกรรม โดยใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์งานที่ทันสมัย และเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม การันตีด้วยผลงานที่ผ่านมา ทั้งยังเป็นบริษัทที่ปรึกษา ให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ ที่เหมาะกับคุณลักษณะของน้ำเสียและงบประมาณในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาของระบบ
    การบำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อที่จะนำสารปนเปื้อนออก โดยพิจารณาจากคุณลักษณะของน้ำเสีย  ทั้ง 3 ลักษณะ คือ คุณลักษณะทางกายภาพ คุณลักษณะทางเคมี และ คุณลักษณะทางชีวภาพ

วิธีการจัดการกับน้ำเสีย
ด้านกายภาพ : ตะแกรงดักขยะ, การตกตะกอนขั้นต้น, ถังดักกรวดทราย, ถังดักไขมัน
ด้านเคมี : การปรับ PH, การสร้างและรวมตะกอนด้วยสารเคมี, การตกผลึก, การแลกเปลี่ยนประจุและการฆ่าเชื้อโรคโดยใช้คลอรีน , ระบบทำให้ลอยด้วยอากาศละลาย
ด้านชีวภาพ :
ด้านชีวภาพการบำบัดแบบใช้อากาศ : ระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge; AS) , สระเติมอากาศ (Aerated Lagoon), ระบบเอสบีอาร์(Sequencing Batch Reactor; SBR), ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch), แผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC)   
ด้านการบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ :  ถังเกรอะ (Septic Tank),  ถังกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter),  ระบบบ่อหมัก UASBระบบ Anaerobic Baffle Reactor (ABR), Cover Lagoon

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเคมี ( Chemical Treatment)

– เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยการแยกสารต่าง ๆ หรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียที่บำบัด เช่น โลหะหนัก สารพิษ สภาพความเป็นกรด ด่างสูงๆ ที่ปนเปื้อนอยู่โดยการเติมสารเคมีต่าง ๆ ลงไปเพื่อให้เข้าไปทำปฏิกิริยาซึ่งจะมีประโยชน์ในการแยกสาร
– วิธีนี้มีข้อเสียคือ เมื่อเติมสารเคมีลงในน้ำเสียแล้ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีค่าใช้จ่ายสำหรับสารเคมีค่อนข้างสูง
– กระบวนการทางเคมีจะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อ น้ำเสียไม่สามารถบำบัดได้ด้วยกระบวนการทางกายภาพหรือทางชีวภาพ   

การลอยตัวด้วยฟองอากาศ (Dissolved Air Floatation : DAF)

– เหมาะสำหรับน้ำเสียประเภทน้ำมัน ไขมัน หรือเส้นใยที่มีลักษณะเบา
– ระบบ DAF คือ ระบบแยกไขมันออกจากน้ำ โดยใช้สารเคมี จำพวกพอลิเมอร์ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ร่วมกับอากาศ มีส่วนหลักๆ ที่สำคัญได้แก่ถังความดัน และถังลอยตะกอนเพื่อเร่งไขมันให้จับตัวเป็นก้อนและลอยอยู่เหนือน้ำ
– ระบบ DAF มีข้อดี ในเรื่องของประสิทธิภาพในการดักจับไขมันได้ในปริมาณมาก แต่ค่าใช้จ่ายในการทำงานของระบบค่อนข้างสูงในเรื่องของค่าสารเคมี
– ระบบ DAF มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
   1. ระบบไม่มีการหมุนเวียนน้ำ – นิยมใช้กับน้ำที่มีตะกอนแบบไม่แตกง่าย
   2. ระบบที่มีการหมุนเวียนน้ำ – ใช้กับน้ำที่มีตะกอนชนิดเปราะแตกง่าย

ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ : ระบบบำบัดแบบใช้อากาศ

ระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge; AS) + ระบบ MBBR

ระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge; AS)
  – เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้จุลินทรีย์พวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ระบบเแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 
  – ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) และถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) โดยน้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีสลัดจ์อยู่เป็นจำนวนมากตามที่ออกแบบไว้ จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในที่สุด น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกสลัดจ์ออกจากน้ำใส
Moving Bed Biofilm Reactor (MBBR)
 – เป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศคล้ายกับระบบบำบัดแบบ AS แต่จะใช้ ตัวMedia ใส่เข้าไปในระบบเติมอากาศเพื่อให้มีอายุตะกอนมาก เลี้ยงตะกอนได้ความเข้มข้นสูง Excess sludge หรือตะกอนที่จะทิ้งออกจากระบบจะน้อย ลดระยะเวลาในการบำบัด คุณภาพน้ำผ่านการบำบัดดี
 – ใช้พื้นที่ในก่อสร้างระบบน้อยลง

Sequencing Batch Reactor : SBR
– เป็นระบบบําบัดน้ำเสียโดยวิธีทางชีวภาพ คือ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ โดยในกระบวนการย่อยสลายดังกล่าวจะต้อง ใช้ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ
– กระบวนการบำบัดมีการเติมอากาศเป็นช่วงๆ (1-3 ชั่วโมง) และหยุดเติมอากาศเพื่อปล่อยให้เกิดการตกตะกอน (ประมาณ 2 ชั่วโมง) ซึ่งจะได้น้ำใสส่วนบนที่สามารถปล่อยทิ้งออกได้เลย จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้ง
– เหมาะสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กและมีน้ำไหลเป็นบางช่วง
– เป็นระบบที่ใช้ถังเติมอากาศและถังตกตะกอนในถังเดียวกัน ทำให้ประหยัดพื้นที่และต้นทุนในการก่อสร้างระบบบำบัด

ระบบ MBR

   เป็นการประยุกต์ใช้บ่อเติมอากาศของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพร่วมกับการทำงานของระบบกรองด้วยเมมเบรน คือ จุ่มเมมเบรนลงในถังเติมอากาศที่เลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์แล้วทำการ Suction ให้น้ำกรองผ่าน membrane แล้วนำน้ำกรองนั้นไปใช้ โดยควบคุมค่า MLSS ให้มีค่าสูงและเหมาะสมเพียงพอต่อการบำบัดน้ำเสีย ระบบกรองด้วยเมมเบรน จะถูกนำมาแทนที่ถังตกตะกอนทำให้ประหยัดเนื้อที่ มักมีระบบอื่นต่อท้าย เช่น EDR หรือ RO เพื่อ Recycle น้ำกลับไปเป็นน้ำดิบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

Aerated Lagoon
– เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย
– โดยปกติจะออกแบบให้บ่อมีความลึกประมาณ 2-6 เมตร ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Detention Time) ภายในบ่อเติมอากาศประมาณ 3-10 วัน นอกจากนี้จะต้องมีบ่อบ่ม (Polishing Pond หรือ Maturation Pond) รับน้ำเสียจากบ่อเติมอากาศเพื่อตกตะกอนและปรับสภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม
– ข้อดี คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินระบบต่ำ เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมี
 – มีข้อจำกัด คือ เป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ ต้องใช้พื้นที่ในการทำบ่อบำบัดเยอะ

ระบบเติมอากาศ โดยใช้หัว Vortex

Vortex : Static Tube Aerator
– Vortex อาศัยความปั่นป่วนจากอากาศที่ผ่านออกมาซึ่งมีความเร็วสูง ทำให้ Oxygen ในอากาศ มีโอกาสในการกวนผสมที่สูงมากและสามารถละลายลงสู่ในน้ำได้มากขึ้น
– ให้ Oxygen ได้มากเมื่อเทียบต่อพลังงานที่ใช้ เนื่องจากเป็นวัสดุรูปทรงกระบอกปลายเปิด แรงต้านทานต่ำส่งผลให้มีอัตราการกวนผสมที่ดีและประหยัดพลังงาน
 – ต่างจากแบบ Diffuser อากาศที่ละลายลงน้ำไม่ทันจะลอยขึ้นด้านบนและหลุดออกสู่บรรยากาศ

1 Vortex ให้อากาศ = 8 Diffusers

Vortex

– Coarse Bubble
– ความปั่นป่วนของอากาศ เกิดซ้ำหมุนวนตลอดเวลา
– ค่าติดตั้งท่อกระจาย อากาต่ำกว่า
– ต้องการการบํารุงรักษา ต่ำ
– อายุการใช้งานนานกว่า

Diffuser

– Fine Bubble
– ฟองอากาศไหลขี้นแนวตั้ง
ต้องเปลี่ยนหัวกระจาย อากาศทุก 3 ปี (ฉีกขาดง่าย ต้องคัดเลือกวัสดุ และวิธีการเจาะอย่างละเอียด)
– ค่าติดตั้งงท่อกระจายอากาศ สูงกว่า
– อัตราการให้อากาศต่อหัวต่ำกว่า

รูปตัดภายในและขนาด

ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ : ระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ

Anaerobic Baffled Reactor : ABR
-ระบบแผ่นกั้นไร้อากาศ มีแผ่นกั้นเพื่อบังคับทิศทางการไหลของน้ำเสียให้ไหลขึ้น ไหลลงในแนวนอน
-เป็นระบบที่มีพื้นทิ่วน้ำมากทำให้มีพื้นที่ตกตะกอนสูงกว่าระบบอื่น
-เป็นระบบที่ไม่ยุ่งยากเพราะไม่ต้องใช้ตัวกลาง ไม่ต้องการจุลินทรีย์ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น Granular ของระบบ UASB
-การแยกตะกอนแขวนลอยออกจากน้ำได้ดีและง่าย จึงใช้กับน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยสูงได้ดี
-ถังปฏิกิริยามีตวามสูงไม่มากเหมือนระบบแบบไม่ใช้อากาศอื่นๆ
-ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่ำ
-เป็นระบบที่สามารถรับสภาวะ Shock Load ได้ดี

Upflow Anaerobic Sludge Blanket (UASB)
-เป็นระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ เป็นระบบที่น้ำเสียไหลเข้าที่ด้านล่างของถังผ่านท่อกระจายน้ำและไหลขึ้นด้านบน (Upflow) โดยผ่านชั้นตะกอน (Sludge Blanket) ที่เกิดจากการเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์ไม่ใช่ออกซิเจนให้มีลักษณะเป็นเม็ด
-มีส่วนเก็บก๊าซที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง และส่วนน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วระบายออกที่ด้านบนของถัง
-รับภาระบรรทุกซีโอดี (COD Loading) ได้สูง เนื่องจากมีตะกอนจุลินทรีย์ในระบบที่มีควมเข้มข้นสูง 50-100 g/l
-ประสิทธิภาพการบำบัด COD ที่ 90 – 95% จึงนิยมใช้กับน้ำเสียที่มีค่า COD สูง
-ความเร็วไหลขี้น (Upflow velocity) มีค่าออกแบบ 0.8 – 3.0 m/hr.
-ใช้พลังงานน้อย
Extended Granular Sludge Bed (EGSB)
-ระบบ EGSB เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ UASB
-ความเร็วไหลขี้น (Upflow velocity) มีค่าออกแบบ 3.0 – 10.0 m/hr.
-ทำให้ชั้น sludge bed มีการชยายตัวมากกว่าระบบ UASB ทำให้การสัมผัสกันระหว่างน้ำเสียกับเม็ดแบคทีเรียทั่วถึงมากกว่า ส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบ EGSB ดีกว่าระบบ UASB